เมนู

ต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง เขียงเท้าสานด้วย
แฝก เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ เขียงเท้าประดับ
ด้วยเงิน เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ เขียง
เท้าประดับด้วยแก้วผลึก เขียงเท้าประกอบด้วยทองสัมฤทธิ์ เขียงเท้าประดับ
ด้วยกระจก เขียงเท้าทำด้วยดีบุก เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี เขียงเท้าทำด้วยทอง
แดง รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อัน
ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับ
ใช้สวมเดิน 3 ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ 1 เขียงเท้าที่
สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ 1 เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ 1.

พระพุทธบัญญัติห้ามจับโค


[13] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในพระนครภัททิยะ
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประ-
ทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จับโคกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี ที่เขา
บ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด ถูกต้ององค์
กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง ประชาชนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้จับโคกำลัง
ข้ามน้ำ ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด

ถูกต้ององค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค หูโค คอโค หางโค ไม่พึงขี่หลังโค รูปใด
จับแลขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่
พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า
พึงปรับอาบัติตามธรรม.

เรื่องยาน


[14] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย
มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า
คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง-
ไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ
โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหน
ขอรับ ?
ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้า.